เมนู

กถาว่าด้วยการสับเปลี่ยนสลาก


[

ปกิณกะมีสมุฏฐานเป็นต้น

]
ก็ในปกิณกะนี้ คือ
สมุฏฐาน 1 กิริยา สัญญา 1
สจิตตกะ 1 โลกวัชชะ 1 กรรมและกุศล
พร้อมด้วยเวทนา 1

บัณฑิตพึงทราบคำทั้งหมด โดยนัยดังที่กล่าวไว้แล้วในปฐมสิกขาบท
นั่นเอง ว่า สิกขาบทนี้ มีสมุฏฐาน 3 คือ เป็นสาหัตถิกะเกิดทางกายและทาง
จิต, เป็นอาณัตติกะ เกิดทางวาจาและทางจิต, เป็นสาหัตถิกะและอาณัตติกะ
เกิดทางกาย ทางวาจาและทางจิต; และเกิดเพราะทำ; จริงอยู่ เมื่อทำเท่านั้น
จึงต้องอาบัตินั้น; เมื่อไม่ทำก็ไม่ต้อง เป็นสัญญาวิโมกข์ เพราะพ้นด้วยไม่มี
สำคัญว่า เราจะถือเอาสิ่งของที่เจ้าของเขาไม่ได้ให้, เป็นสจิตตกะ เป็นโลก
วัชชะ เป็นกายกรรม เป็นวจีกรรม เป็นอกุศลจิต, ภิกษุยินดี หรือกลัว
หรือวางตนเป็นกลาง จึงต้องอาบัตินั้น; เพราะเหตุนั้น สิกขาบทนี้ จึงชื่อว่า
มีเวทนา 3.

[

อรรถาธิบายอุทานคาถาในวินีตวัตถุ

]
ในคาถาแห่งวินีตวัตถุ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้:- เรื่องภิกษุ
ฉัพพัคคีย์ ข้าพเจ้าได้กล่าวไว้แล้วในอนุบัญญัตินั่นแล. ในเรื่องที่ 2 มีวินิจฉัย
ดังนี้ ขึ้นชื่อว่า จิตของพวกปุถุชน ละปกติไปด้วยอำนาจกิเลสมีราคะ
เป็นต้น ย่อมวิ่งไป คือ พล่านไป ได้แก่ เร่ร่อนไป. ถ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า

แม้เว้นความทำลายทางกายทวารและวจีทวารเสีย จะพึงทรงบัญญัติอาบัติด้วย
เหตุเพียงจิตตุปบาท (เพียงเกิดความคิด) ใครจะพึงสามารถทำตนไม่ให้เป็น
อาบัติได้เล่า ? เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุ !
เธอไม่ต้องอาบัติ เพราะเพียงแต่เกิดความคิดขึ้น1 แต่ภิกษุก็ไม่ควรเป็นไปใน
อำนาจแห่งจิต, ควรห้ามจิตไว้ด้วยกำลังแห่งการพิจารณาทีเดียวแล. เรื่องการ
จับต้องผ้า ทำให้ผ้าไหวและทำให้ผ้าเคลื่อนจากฐาน มีเนื้อความตื้นแล้วทั้งนั้น.
ส่วนเรื่องทั้งหลายซึ่งถัดจากเรื่องที่ทำผ้าให้เคลื่อนจากฐานนั้นไป มีเรื่องว่า
ภิกษุมีไถยจิต หยิบทรัพย์นั้นขึ้นจากพื้นดิน2 เป็นที่สุด มีเนื้อความตื้นแล้ว
ทั้งนั้น.
ในเรื่องตอบคำถามนำ มีวินิจฉัยดังนี้ :-
บทว่า อาทิยิ ความว่า ภิกษุเจ้าของจีวร จับแล้ว คือ ยึดไว้ว่า
ท่านเป็นโจร. ส่วนภิกษุผู้ลักจีวรนอกนี้ เมื่อถูกภิกษุเจ้าของจีวร ถามว่า จีวร
ของผม ใครลักไป ? จึงได้ให้คำปฏิญญา โดยเสมอกับคำถามว่า ผมลักไป.
จริงอยู่ ถ้าภิกษุเจ้าของจีวรนอกนี้จักกล่าวว่า จีวรของผม ใครถือเอา ใคร
นำไป ใครเก็บไว้ ?, แม้ภิกษุนี้ ก็จะพึงตอบว่า ผมถือเอา หรือว่า ผมนำไป
หรือว่า ผมเก็บไว้ แน่นอน. ธรรมดาว่าปาก อันธรรมดาแต่งไว้ เพื่อประโยชน์
แก่การบริโภค และเพื่อประโยชน์แก่การพูด แต่เว้นไถยจิตเสีย ก็ไม่เป็นอว-
หาร เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุ ! เธอ
ไม่เป็นอาบัติ เพราะตอบตามคำถามนำ ดังนี้. อธิบายว่า ไม่เป็นอาบัติ
เพราะเพียงแต่กล่าวโดยสำนวนโวหาร. เรื่องที่ถัดจากเรื่องตอบตามคำถามนำ3
นั้นไป ซึ่งมีเรื่องผ้าโพกเป็นที่สุด ทั้งหมดมีเนื้อความตื้นแล้วทั้งนั้น.
//1. วิ. มหา. 1/105 2. วิ. มหา. 1/107 3. วิ. มหา. 1/107.

ในเรื่องศพที่ยังสด มีวินิจฉัยดังนี้ :-
บทว่า อธิวตฺโถ ความว่า เปรตเกิดขึ้นในศพนั้นนั่นเอง เพราะ
ความอยากในผ้าสาฎก.
บทว่า อนาทิยนฺโต ความว่า ภิกษุไม่เชื่อคำของเปรตนั้น หรือ
ไม่ทำความเอื้อเฟื้อ.
หลายบทว่า ตํ สรีรํ อุฏฺฐหิตฺวา ความว่า เปรตบังคับให้ศพ
นั้นลุกขึ้น ด้วยอานุภาพของตน. เพราะเหตุนั้น พระอุบาลีเถระจึงกล่าวไว้ว่า
ศพนั้นลุกขึ้น (เดินตามหลังภิกษุนั้นไป*).
สองบทว่า ทฺวารํ ณกสิ ความว่า วิหารของภิกษุมีอยู่ในที่ใกล้
ป่าช้านั้นเอง เพราะเหตุนั้น ภิกษุเป็นผู้กลัวอยู่โดยปกติ จึงรีบเข้าไปในวิหาร
นั้นนั่นเอง แล้วปิดประตู.
สองบทว่า ตตฺเถว ปริปติ ความว่า เมื่อภิกษุปิดประตูแล้วเปรต
เป็นผู้หมดความอาลัยในผ้าสาฎก จึงละทิ้งศพนั้นไว้ แล้วไปตามยถากรรม.
เพราะเหตุนั้น ร่างศพนั้นก็ล้มลง. มีคำอธิบายว่า ตกไปในที่นั้นนั่นแล.
สองบทว่า อภินฺเน สรีเร ความว่า อันผ้าบังสุกุลที่ศพสดซึ่งยัง
อุ่นอยู่ ภิกษุไม่ควรถือเอา. เมื่อภิกษุถือเอา อุปัทวะเห็นปานนี้ย่อมมี และ
ภิกษุย่อมต้องทุกกฏ แต่จะถือเอาที่ศพแตกแล้ว ควรอยู่.
ถามว่า ก็ศพจะจัดว่า แตกแล้ว ด้วยเหตุเพียงไร ?
แก้ว่า แม้ด้วยเหตุเพียงถูกจะงอยปากหรือเขี้ยว อันสัตว์ทั้งหลาย มี
กา พังพอน สุนัข และสุนัขจิ้งจอกเป็นต้น กัดแล้วนิดหน่อย. ส่วนอวัยวะ
ของศพใดที่ล้มลง เพียงผิวหนังถลอกไปด้วยการครูดสี. หนังยังไม่ขาดออก,
ศพนั้น นับว่ายังสดทีเดียว, แต่เมื่อหนังขาดออกแล้วจัดว่าแตกแล้ว. แม้ศพใด
//* วิ. มหา. 1/109

ในเวลายังมีชีวิตนั่นเอง มีฝีโรคเรื้อนและต่อม หรือแผลแตกพรุนทั่วไป, แม้
ศพนี้ชื่อว่า แตกแล้ว. ตั้งแต่วันที่ 3 ไป แม้สรีระที่ถึงความเป็นซากศพ โดย
เป็นศพที่ขึ้นพองเป็นต้น จัดว่าเป็นศพที่แตกแล้วโดยแท้.
อนึ่ง แม้ในศพที่ยังไม่แตกโดยประการทั้งปวง แต่คนผู้ดูแลป่าช้า
หรือมนุษย์เหล่าอื่นให้ถือเอา ควรอยู่ ถ้าไม่ได้มนุษย์อื่น, ควรจะเอาศัสตรา
หรือวัตถุอะไรทำให้เป็นแผลแล้ว จึงถือเอา. แต่ในศพเพศตรงกันข้าม ภิกษุ
ควรตั้งสติไว้ ประคองสมณสัญญาให้เกิดขึ้น ทำให้เป็นแผลที่ศีรษะ หรือที่
หลังมือและหลังเท้าแล้วถือเอาสมควรอยู่.
ในเรื่องอัน เป็นลำดับแห่งสรีระยังไม่แตกนั้น มีวินิจฉัยดังนี้:-
หลายบทว่า กุสํ สงฺกาเมตฺวา จีวรํ อคฺคเหสิ มีความว่า ภิกษุ
ลักด้วยกุสาวหาร ในบรรดาเถยยาวหาร ปสัยหาวหาร ปริกัปปาวหาร ปฏิจ-
ฉันนาวหารและกุสาวหาร ซึ่งได้แสดงไว้แล้วแต่เพียงชื่อ ในการพรรณนาเนื้อ
ความแห่งบทนี้ว่า อาทิเยยฺย ในเบื้องต้น. และพึงทราบความต่างกันแห่ง
อวหารเหล่านี้ ดังจะกล่าวต่อไปนี้:-

[

อรรถาธิบายอวหาร 5 อย่าง

]
จริงอยู่ ภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง แอบทำโจรกรรมมีการตัดที่ต่อเป็นต้น
ลักทรัพย์ซึ่งมีเจ้าของ ในเวลากลางคืนหรือกลางวัน หรือหลอกลวงฉ้อเอา
ด้วยเครื่องตวงโกง และกหาปณะปลอมเป็นต้น, อวหารของภิกษุรูปนั้นนั่นแล
ผู้ถือเอาทรัพย์นั้น พึงทราบว่า เป็นเถยยาวหาร, ฝ่ายภิกษุใด ข่มเหงผู้อื่น
คือ กดขี่เอาด้วยกำลัง, ก็หรือขู่กรรโซก คือ แสดงภัย ถือเอาทรัพย์เป็นของ
ชนเหล่านั้น เหมือนพวกโจรผู้ฆ่าเชลย ทำประทุษกรรม มีฆ่าคนเดินทาง
และฆ่าชาวบ้านเป็นต้น (และ) เหมือนอิสรชน มีพระราชาและมหาอำมาตย์